ทำเว็บไซต์ด้วยตัวเอง จะเริ่มจากอะไรก่อน

ปัจจุบันการทำเว็บไซต์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ถ้าเรามี 3 สิ่งนี้ให้พร้อมก็สามารถเริ่มต้นทำเว็บไซต์ของตัวเองได้

ปัจจุบันนี้การทำเว็บไซต์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ใครที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ก็สามารถทำเว็บไซต์ได้อย่างง่ายมากขึ้นกว่าในสมัยก่อน ถ้าเทียบกับสมัยก่อนจะทำเว็บไซต์เองได้ต้องเรียน html css และ JavaScript ถึงจะได้เว็บไซต์หนึ่งขึ้นมา

ทำให้การที่จะเว็บไซต์เป็นของตัวเองนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่อยากจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองแล้วจะเริ่มตรงไหนก่อนดี

1. ตั้งชื่อเว็บไซต์ (Domain name)

ถ้าเรามีชื่อธุรกิจของเราอยู่แล้ว เราสามารถเอาชื่อธุรกิจมาตั้งชื่อเว็บไซต์ได้เลย แต่ถ้าชื่อธุรกิจของเราชื่อซ้ำกับของคนอื่น เราก็ดัดแปลง เปลี่ยนหรือใส่อะไรต่อท้ายไปที่ชื่อเว็บไซต์ แต่อย่าลืมว่าชื่อที่ตั้งข้ึนมาใหม่หรือดัดแปลงแล้วยังคงต้องแสดงถึงเอกลักษณ์หรือความเป็นธุรกิจของคุณอยู่

ตัวอย่างเช่น ร้านอาหารทะเลครัวปุยฝ้าย สามารถตั้งได้เป็นทั้ง

  • puifaiseafood – เอาชื่อร้านมาตั้งเลยตรง ๆ
  • faiseafood – หรือจะแบบนี้ก็ยังได้
  • fishandshrimp – หรือถ้าชื่อมันซ้ำ มีชื่อร้านคล้าย ๆ กับธุรกิจเรา เราก็เอาจุดเด่นของร้านมาตั้งชื่อได้
  • seafoodbkk – หรือจะเอาตำแหน่งของร้านมาตั้งก็ยังได้

หลักการง่าย ๆ ของการตั้งชื่อควร

  1. ควรเป็นชื่อที่คนเห็นแล้วจำได้ง่าย ยิ่งสั้นยิ่งดีเพราะถ้ายาวมาคนจะจำไม่ได้
  2. ใช้ชื่อที่ง่าย ๆ ไม่จำเป็นต้องเล่นคำจนคนอาจจะงงแล้วก็จำไม่ได้
การเช็คชื่อโดเมนนั้นทำง่ายมาก เมื่อเราได้ชื่อที่อยากจะใช้ที่เว็บไซต์เราแล้วก็ตรวจเช็คหาชื่อเว็บไซต์ที่ยังว่าง สามารถทำได้ที่ https://th.godaddy.com/domains/domain-name-search

2. จะใช้นามสกุลอะไรดี .com หรือ .co.th หรือ .net

น่าจะเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่หลายคนสงสัย เมื่อเข้าไปตรวจสอบชื่อเว็บไซต์ที่เว็บไซต์ของบริษัทที่ขายหรือใช้บริการด้าน hosting แล้ว จะเจอว่าเขามีให้เลือกนามสกุลหรือส่วนต่อท้ายเยอะและหลากหลายมาก ก็เลยเกิดคำถามมาว่า “จะใช้อันไหนดี”

ส่วนต่อท้ายหรือนามสกุลของเว็บไซต์ก็ทำหน้าที่เหมือนนามสกุลคนนี้แหละที่สามารถบอกประเภทของธุรกิจได้ ตัวอย่างเช่น

.co.th เว็บไซต์ไหนที่ลงท้ายด้วยนามสกุลนี้บอกได้เลยว่าเว็บไซต์นั้นเป็นบริษัทหรือองค์กรที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย เช่น ห้างเซ็นทรัล www.central.co.th

.gov หรือ .go ที่บอกว่าเว็บไซต์นั้นเป็นองค์กรจากภาครัฐ เช่น กระทรวงมหาดไทย www.moi.go.th

.org ที่บอกว่าเซ็บไซต์นั้นมีการทำงานแบบองค์กร เช่น UN www.un.org หรือ www.wordpress.org

และตัวอย่างสุดท้าย .net ที่มักจะใช้กับองค์กรหรือบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับด้านเครือค่ายและเทคโลโลยีต่าง ๆ

หรือจะบอกเชื้อชาติหรือที่มาของเว็บไซต์ว่ามาจากประเทศใด เช่น .th ก็เป็นเว็บไซต์จากประเทศไทย หรือ .se จะเป็นเว็บไซต์จากประเทศสวีเดน

นอกจากนี้การเลือกนามสกุลของเว็บไซต์ก็ควรจะสัมพันธ์ภาษาที่ใช้ในเว็บไซต์ด้วย ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของร้านอาหารทะเลครัวปุยฝ้ายจะเป็นภาษาไทยทั้งหมด ดังนั้นนามสกุลก็ควรจะเป็น .th แต่ถ้าเว็บไซต์ของร้านจะทำเป็นสองภาษาด้วย คือภาษาไทยและอังกฤษสำหรับลูกค้าต่างชาติแล้ว ก็ควรเลือกเป็น .com น่าจะเหมาะที่สุด

จริง ๆ แล้ว .com นี้น่าจะเป็นอะไรที่นิยมมากที่สุดเพราะเหมือนเป็นนามสกุลกลาง ๆ ที่จะไปอยู่กับธุรกิจลักษณะที่ไหนก็ได้และมีความง่ายในการเริ่มใช้งานที่ไม่ต้องไปจดทะเบียนอะไรให้ยุ่งยากเหมือนการจดทะเบียน .co.th

3. การซื้อโฮลติ้ง

โฮลติ้ง (Hosting) หรือเว็บโฮเทล (Web hotel) คือรูปแบบริการอย่างหนึ่งที่เราจะต้องเอาเว็บไซต์ของเราไปฝากให้คนอื่นดูแล ซึ่งคนที่ดูแลเขาก็จะมีพื้นที่ให้เราเช่าโดยที่เราจะจ่ายเงินให้เขาเป็นรายเดือนไป ซึ่งการซื้อโฮลติ้งนั้นมีความจำเป็น ถ้าเรามีแต่ชื่อเว็บไซต์แต่ไม่มีโฮลติ้งก็เหมือนกับเราไม่มีที่อยู่ ไม่มีทะเบียนและเว็บไซต์ของเราก็จะไม่ปรากฎสู่สาธารณะ

โดยปกติแล้วเวลาเราซื้อชื่อเว็บไซต์ ผู้ให้บริการ hosting เขาก็จะให้เราเลือกไปพร้อมกับตอนซื้อชื่อเว็บไซต์เลยว่าจะซื้อ hosting แบบไหนดีซึ่งแต่ละผู้ให้บริการก็มีหลายแบบ หลายราคาแตกต่างกันไป

แล้วเราจะเลือกผู้ให้บริการอันไหนดี

อันนี้ตอบยากมากว่าอันไหนดีเพราะก็ไม่เคยได้ใช้ทุกอัน แต่สามารถแนะนำได้ว่า “จะมีวิธีการเลือกผู้ให้บริการอย่างไร”

  1. ใช้ Google ให้เป็นประโยชน์โดยพิมพ์ชื่อผู้ให้บริการนั้นไปและดูว่าแต่ที่เขาพูดถึงผู้ให้บริการนั้นอย่างไร
  2. พอเจอผู้ให้บริการที่คิดว่าน่าจะดีแล้วก็ให้เข้าไปดูที่เว็บไซต์ของเขาว่าหน้าตาเป็นยังไง มีตัวตนจริงไหมและเข้าไปอ่านข้อมูลต่าง ๆ ที่มีในเว็บไซต์ ส่วนตัวแล้วคิดว่าหน้าตาเว็บไซต์มีความสำคัญเพราะมันจะสร้างความน่าเชื่อถือให้ได้เยอะ ถ้าเว็บไซต์ที่ดูไม่เป็นมืออาชีพ เราก็ไม่ต้องไปใช้บริการนั้น

แล้วจะเลือก hosting แบบไหนดี

hosting มีหลายราคาและหลายแพ็คเก็จ ราคาของ hosting โดยปกติมีตั้งแต่ 200 – ไปถึงหลักพันเลยก็มี การเลือกแพ็คเก็จนั้นให้เลือกดูว่าเว็บไซต์ที่เราจะทำขึ้นมานั้นเป็นอะไร ถ้าเป็นเว็บไซต์แบบง่าย ๆ เช่น เว็บไซต์ร้านอาหาร ร้านตัดผม ร้านนวดและสปาซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่แสดงหรือบอกข้อมูลเกี่ยวธุรกิจของเรา แพ็คเก็จที่จะซื้อก็สามารถเลือกเป็นแบบพื้นฐาน มี database 1 database

แต่ถ้าเว็บไซต์นั้นเป็นแบบขายของออนไลน์ที่ต้องใส่ข้อมูลสินค้าเยอะ ๆ แพ็คเก็จที่ซื้อก็ควรจะเลือกแบบที่มีหน่วยความจำมากขึ้นเพราะจะต้องรองรับภาพและข้อมูลเยอะ ๆ ขนาดของหน่วยความจำและพื้นที่ใน database ก็ต้องมีมากขึ้นกว่าเว็บธรรมดา

แต่ในท้ายที่สุดแล้วจะเลือกซื้อ hosting แบบไหน ก็ขอให้ดูด้วยว่าซื้อ hosting ไปแล้วได้อะไรมาบ้างซึ่งสิ่งพื้นฐานที่เราควรจะได้ (แม้ว่าจะจ่ายไปแบบถูกที่สุดก็ตาม) คือ

  • SSL
  • Database
  • บัญชีอีเมล์ที่เราสามารถสร้างได้

ข้อคำนึงสุดท้ายก่อนจะซื้อ hosting คือ อยู่ประเทศไหนก็ใช้ hosting ของที่นั้นน่าจะดีที่สุด เหตุผลหลักคือ เรื่องการให้บริการที่ผู้ให้บริการนั้นจะช่วยเหลือเราได้ทันที บางคนอาจจะไม่ไว้วางใจหรือคิดว่า hosting ของประเทศไทยไม่ดีเท่ากับของต่างประเทศเลยเลือกซื้อ hosting กับประเทศอื่นไป ข้อเสียคือ ถ้าเราไม่เก่งภาษาอังกฤา การสื่อสารและขอความช่วยเหลือก็จะลำบากขึ้นไปอีก ประกอบกับความต่างของเวลาที่ต่างกันของแต่ละที่ การได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ก็อาจจะไม่ทันกับความต้องการ

สุดท้ายก่อนจบเรื่องนี้ จะมาแนะนำผู้ให้บริการ hosting ที่เคยใช้และคิดว่าดีทั้งของในประเทศไทยและสวีเดน

เริ่มจากที่ไทย hostsevenplus ใช้แล้วดี ยังไม่มีปัญหา ที่ประทับใจมากที่สุดคือ การให้ควมาช่วยเหลือที่รวดเร็วและเจ้าหน้าที่เขาแก้ปัญหาได้ตรงจุด ราคา hosting ก็ไม่แพงเวอร์

ส่วนใครอยู่ที่สวีเดน แนะนำ one.com ใช้มานานและไม่มีปัญหาใด ๆ ซื้อปุ๊ปก็ใช้ได้ทันที ที่ชอบมากที่สุดคือ หน้าตาของระบบหลังบ้านที่ดูน่าใช้งานมากเหมาะกับคนที่ไม่คุ้นชินกับ c panel

Picture of House11

House11

ขอบคุณค่ะ

เราจะติดต่อกลับไปให้เร็วที่สุดค่ะ

ต้องการเว็บไซต์ภาษาไทย

Behöver du hemsida på thailändska?

Kontakta oss

เข้ามาพูดคุยและสอบถามเพิ่มเติมได้นะคะ ให้คำปรึกษาและแนะนำฟรี

อีเมล์: contact@house11.se

โทรศัพท์:(+46) 769 01 52 02

หรือส่งข้อความมาหาเราได้ค่ะ

Kontakta oss för att boka in ett kostnadsfritt möte.

E – post: contact@house11.se

Tel.:(+46) 769 01 52 02

Din meddelande har skickat.

Vi kommer svara inom 2 arbetsdagar.